โรงเรียนวัดราชโอรส

Thailand / Bangkok /
 โรงเรียน  Add category

โรงเรียนวัดราชโอรส เดิมเป็นโรงเรียนประชาบาล ตั้งอยู่ในเขตวัดราชโอรสาราม ด้านหน้าติดกับคลองสนามไชย ชื่อโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคม ต่อมาได้โอนเป็นโรงเรียนรัฐบาลขึ้นกับกระทรวงธรรมการ โดยรองอำมาตย์เอกหลวงพิรุณพิทยาพรรณ เจ้าหน้าที่กระทรวงธรรมการกับพระธรรมุเทศาจารย์ เจ้าอาวาส ได้พิจารณาร่วมกันว่ายังไม่มีโรงเรียนมัธยมในละแวกนี้ จึงเสนอให้โอนโรงเรียนประสิทธิ์วิทยาคมไปขึ้นกับกระทรวงธรรมการ มีชื่อว่า โรงเรียนวัดราชโอรส
ในวันที่ 19 มีนาคม 2458 เปิดสอนในวันที่ 17 พฤษภาคม 2458 โดยมี ขุนจงจิตต์ฝึก (ราชบุรุษโชติ ไวยกฏ) ดำรงตำแหน่งครูใหญ่และคนแรก
ระยะแรกโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนเพียง 2 ชั้น คือ ประถมปีที่ 1 และประถมปีที่ 2 ในช่วงเวลา 13 ปี ที่ขุนจงจิตต์ฝึกเป็นครูใหญ่ ได้ขยายการศึกษาอย่างเต็มที่ คือมีชั้นเรียนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

ปี 2471
ขุนกิตติวุฒิ ได้รับคำสั่งให้มารับตำแหน่งครูใหญ่แทนขุนจงจิตต์ฝึก ซึ่งพ้นจากหน้าที่ราชการตลอดช่วงเวลา 24 ปี ที่ขุนกิตติวุฒิดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ ได้ขยายการศึกษาอย่างกว้างขวางดังนี้ เมื่อศาลาใช้เรียนชำรุดขุนกิตติวุฒิได้ขอสถานที่วัดจากท่านเจ้าคุณพระธรรมุเทศาจารย์เพื่อปลูกสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่ ท่านเจ้าอาวาสเห็นชอบด้วย จึงมอบที่ดินหลังวัดเนื้อที่ 6 ไร่เศษให้แก่โรงเรียน ทั้งยังรื้อกุฏิพระ 2 หลังไปสร้างอาคารเรียนด้วย

ปี 2472
กระทรวงศึกษาธิการได้อนุมัติเงินงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนเรือนไม้ 2 ชั้น ทางด้านเหนือและต่อมาได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนทางด้านใต้อีก 1 หลังในปี 2474 ต่อมา ได้ยุบเลิกชั้นเรียนประถมเหลือแต่มัธยมศึกษาเท่านั้น และได้ย้ายนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไปอยู่โรงเรียนวัดอัปสรสวรรค์ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่ปี 2485 จึงไม่มีนักเรียนหญิงที่โรงเรียนวัดราชโอรสอีกเลย

ปี 2486
ขุนวิเศษจรรยา (สนอง กาญจนรมย์) ได้รับตำแหน่งแทนขุนกิตติวุฒิซึ่งย้ายไป และในปีนี้เองท่านเจ้าคุณพระธรรมุเทศาจารย์ผู้อุปการะโรงเรียนมรณภาพ เจ้าอาวาสองค์ต่อมา คือ ท่านเจ้าคุณพระเทพญาณมุนีก็ได้เป็นผู้อุปการะโรงเรียนในขณะเดียวกันครูใหญ่ของโรงเรียนก็เปลี่ยนไปตามลำดับเริ่มตั้งแต่ อาจารย์ศักดิ์ วิทยารัก อาจารย์เดี่ยน ศรีวิโรจน์ ในสมัยนี้โรงเรียนได้เปิดรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนได้ขยาย แ ละปรับปรุง อาคารเพิ่มเติมอีก 4 หลัง เป็นอาคารไม้ทั้งสิ้น จนถึงสมัย อาจารย์แสวง นิโครธานนท์ เป็นอาจารย์ใหญ่ได้ขยาย บริเวณโรงเรียนกว้างขวางขึ้น โดยรื้อสิ่งปลูกสร้างวัด สร้างอาคารตึก 4 ชั้น ซึ่งขณะนั้นผู้อุปการะโรงเรียน คือท่านเจ้าคุณพระเทพญาณมุนีโรงเรียนจึงตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่าอาคาร “เทพญาณมุนี”
เมื่อท่านเจ้าคุณพระเทพญาณมุนี ผู้อุปการะโรงเรียนมรณภาพแล้ว ท่านเจ้าคุณพระราชโมลี ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสและผู้อุปการะโรงเรียน ต่อมาท่านได้พัฒนาบำรุงวัด บำรุงโรงเรียนไปพร้อมกัน ได้ช่วยเหลือโรงเรียนทำให้ได้งบประมาณสร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารตึก 5 ชั้น ในปี พ.ศ. 2519 ทางโรงเรียนจึงตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่าอาคาร “ราชโมลี” ซึ่งเป็นชื่อของเจ้าอาวาสท่านได้ทำนุบำรุงโรงเรียนและวัดจนกระทั่งวันที่ 24 พฤษภาคม 2524 ได้มรณภาพลง พระธรรมกิตติวงศ์์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9) ขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระศรีวิสุทธิวงศ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสได้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสและเป็นผู้อุปการะโรงเรียนมาจนถึงปัจจุบัน

โรงเรียนวัดราชโอรสได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ในเดือนธันวาคม 2525 พระราชวิสุทธิโมลี เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม (สมณศักดิ์ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ พระธรรมกิตติวงศ์) ได้ร่วมกับประชาชนจัดผ้าป่าซื้อที่ดินถวายวัดเพื่อขยายโรงเรียนเพิ่มเติมอีก 5.5 ไร่ และคุณมัลลิกา ปัทมานุช ร่วมกับพี่น้องได้ถวายที่ดินให้วัดเพื่อใช้ขยายโรงเรียนอีก 8 ไร่ รวมกัยเนื้อที่เดิมโรงเรียนจึงมีเนื้อที่ทั้งหมด 21 ไร่ 262 ตารางวา
ในปี พ.ศ. 2526 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจากกรมสามัญศึกษาให้สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 30 ห้องเรียน จึงก่อสร้างอาคารหลังนี้ในปีที่ดินแปลงใหม่ แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2527 และใช่ชื่อว่า อาคาร “ปัทมานุช” ตามนามสกุลผู้ขายและบริจาคที่ดิน และได้ทำพิธีเปิดอาคารหลังใหม่ในงานฉลองครบรอบ 70 ปี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2528 โดย ฯพณฯ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายสมาน แสงมะลิ เป็นประธานพิธี

ปี 2527
ทางโรงเรียนเปิดรับนักเรียนหญิงในระดับ ม.ปลาย อีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ได้เป็นโรงเรียนชายล้วนมาถึง 42 ปี

ปี 2532
โรงเรียนได้เปิดสอนแบบสหศึกษา โดยเริ่มรับในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และในปีการศึกษานี้โรงเรียนทำการสอนแบบสหศึกษาเป็นต้นไป

ปี 2533
โรงเรียนได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารหอประชุม และเสร็จในปีการศึกษา 2534

ปี 2536–2539
สมัยของนายสมพงษ์ พูลสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชโอรส ได้พัฒนาโดยโรงเรียนวัดราชโอรสได้ขยายพื้นที่เดิม 21 ไร่เศษ ทำให้มีพื้นที่เป็น 2 บริเวณ เชื่อมต่อกันด้วยสะพานลอย โดยความอนุเคราะห์ของสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดราชโอรส

* บริเวณที่ 1 เนื้อที่ 13 ไร่ ประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 4 หลัง อาคารโรงฝึกงาน อาคารหอประชุมและโรงอหาร สนามหญ้า สระน้ำ พระพุทธรูปในปราสาทกลางน้ำ สนามวอลเล่ย์ สนามบาสเกตบอล ที่นั่งพักผ่อนหย่อนใจ
* บริเวณที่ 2 เนื้อที่ 9 ไร่เศษ ประกอบด้วย สระน้ำ และอาคารประกอบ โดยศิษย์เก่ารุ่น 12 โดยการนำของ
นายวิวัฒน์ ฑีฆะคีรีกุล ร่วมกันสร้าง นิกจากนั้นยังมีสนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล สนามวอลเล่ย์บอล สนามเทนนิส บ้านพักภารโรง

ปี 2540
โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร 4 ชั้น 16 ห้องเรียน ทดแทนอาคารไม้ที่ชำรุดทรุดโทรม ได้ชื่อว่า อาคารธรรมุเทศาจารย์ ก่อสร้างสมบูรณ์ใช้ได้ในปีการศึกษา 2542

ปี 2542–2545
นายสุวัฒน์ วิวัฒนานนท์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ดำเนินการปฏิรูปโรงเรียนด้านสิ่งแวดล้อมจากโรงเรียนที่สวยงามเป็นโรงเรียนที่สะอาด เป็นระเบียบ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน บุคลากรและนักเรียนมีวินัยในเรื่องการปฏิบัติตามระเบียบ การรักษาความสะอาด จนเป็นนิสัย มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องอาคารสถานที่ได้ครบถ้วน เช่น การปรับมุมอับที่เป็นแหล่งมั่วสุมให้สะอาด โปร่งตา ปรับสถานที่ให้นักเรียนนั่งพักผ่อนในบรรยาการที่ร่มรื่นสวยงาม ปรับพื้นที่บริเวณสนาม 2 โดย ถามสนามฟุตบอลบริเวณสนาม 2 ให้สามารถใช้การได้ตลอดปี สร้างอาคารเกษตร เรือนเพาะชำ พร้อมทั้งปรับปรุงบรรยากาศสภาพแวดล้อมสนาม 2 ให้สวยงามเป็นสถานที่ที่นักเรียนและชุมชนมาใช้บริการมากมาย การปรับปรุงห้องเรียน ห้องสำนักงานต่าง ๆ ให้มีระเบียบ ปรับระบบการบริหารจัดการ ระเบียบวินัย และการเงินให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกเรื่อง เป็นที่กล่าวขาน ชื่นชมทั้งบุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

ปี 2545-2548
นายยงยุทธ สุวรรณรัตน์ ผู้อำนวยการ ได้พัฒนาโรงเรียนต่อเนื่องทั้งด้านการดูแลนักเรียน การปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบวินัย การพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริหารและการจัดการเรียนการสอน การร่วมมือกับชุมชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อร่วมมือกันสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยมุ่งหวังให้โรงเรียนวัดราชโอรสมีศักยภาพ พร้อมทุกด้าน มีความสง่างาม สมศักดิ์ศรีของการเป็นโรงเรียนยอดนิยมของสำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 3

ปัจจุบัน
นายปรีชา บุญคมรัตน์ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ ได้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชโอรสตั้งแต่วันที่ 2548 ด้วยวิสัยทัศน์ของท่าน “อนาคตกำหนดได้ ฝันให้ไกลไปให้ถึง” ท่านได้จัดการบริหารโรงเรียนเชิงรุกอย่างมีเป้าหมายและกำหนดเวลาเป็นเครื่องมือ ชี้วัดผลสัมฤทธิ์ของงาน โรงเรียนวัดราชโอรส ณ ปัจจุบันจึงมีโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการซึ่งไดรับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดราชโอรสเรียบร้อยแล้วดังนี้

1. โครงการพัฒนาปรับปรุงโรงอาหารให้ได้มาตรฐาน
2. โครงการจัดทำห้องสืบค้นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
3. โครงการพัฒนาปรับปรุงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
4. การจัดทำห้องเรียนรองรับโครงการ การเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบเข้มข้น (IEP)
5. ปรับปรุงห้องศูนย์ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น
6. ปรับปรุงห้องปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ
7. โครงการพัฒนาวงโยธวาทิต
8. โครงการปรับปรุงพัฒนากีฬายูโด
9. โครงการจัดทำหลังเชื่อมต่อทางเดินระหว่างอาคาร
10.โครงการซ่อมบำรุงอาคารเรียน
11.โครงการจัดทำห้องออกกำลังกาย
(www.ro.ac.th/web/main.html)
Nearby cities:
Coordinates:   13°42'8"N   100°27'45"E
  •  53 กม.
  •  57 กม.
  •  69 กม.
  •  83 กม.
  •  98 กม.
  •  129 กม.
  •  141 กม.
  •  154 กม.
  •  315 กม.
  •  438 กม.
This article was last modified 17 years ago