บ้านพระยาบุรุษรัตนราชพัลลพ

Thailand / Bangkok /

พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภท่านมีชื่อว่า นพ ไกรฤกษ์เป็นบุตรชายของพระมงคลฯกับท่านขรัวยายไข่ ท่านดำรงยศครั้งแรกในสมัยพระจุลจอมเกล้าเป็นมหาดเล็กประจำห้องพระบรรทม และท่านนี่แหละคือผู้จดบันทึกเหตุการณ์ในห้องพระบรรทมก่อนจะเสด็จสวรรคต และท่านยังดำรงศเป็น อธิบดีกรมชาวที่ (กรมนี้มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชฐาน ถ้าเรียกเป็นภาษาธรรมดาก็น่าจะเป็นกรมอาคารสถานที่) ท่านเป็นทายาศซึ่งสืบสกุลมาจากพระยาไกรโกษา (ฤกษ์) ท่านมีน้องและพี่ร่วมบิดามารดาเดียวกันคือ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณปลายถนนราชวิถีให้ท่านได้ปลูกสร้างบ้านพักอาศัย เพื่อสะดวกในการเดินทางไปรับราชการ และยังพระราชทานเงินถึง ๓๐๐ ชั่ง เพื่อใช้ในการปลูกสร้างบ้านพักอาศัยในลักษณะสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียนโกธิค โดยอาศัยช่างก่อสร้างชาวต่างประเทศ ชุดเดียวกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมโดยใช้เวลาการก่อสร้างประมาณ ๖ ปี โดยท่านเป็นผู้วางแบบแปลนเองทั้งหมดหลังคาทรงปั้นหยา อวดพื้นหลังคา ด้วยกระเบื้องว่าว เจาะตกแต่งช่องหน้าต่างเล็ก ๆ บนหลังคา รวมทั้งยังมีบางส่วนของอาคารซึ่งออกแบบเป็นลักษณะรูปทรงของหอคอยแบบยุโรปที่งดงามน่าชมเป็นอย่างยิ่ง

ภายในบ้านประกอบด้วยห้องที่มีขนาดต่างกันมากมาย โดยห้องที่สวยงามที่สุดคือห้องทางทิศตะวันออกและห้องกลางของบ้าน ซึ่งถูกตกแต่งด้วยศิลปะในยุควิคตอเรียนของอังกฤษ ผนังห้องถูกตกแต่งเป็นพิเศษด้วยภาพเขียนสีปูนแห้ง(เฟรสโก้)ลวดลายดอกไม้ที่หาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน รวมถึงงานไม้อันประณีตวิจิตรที่ตกแต่งอยู่ตามบริเวณจุดต่างๆของห้องอีกด้วย

พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภนั้นโปรดปรานเรื่องการก่อสร้างเป็นอย่างมาก กล่าวคือในการก่อสร้างอาคารแต่ละหลังนั้นท่านใช้วิธีสั่งอาคารกระเบื้องเคลือบจากยุโรปเข้ามา แล้วแกะรูปแบบอาคารเหล่านั้นไปสร้างเป็นอาคารจริงๆ ฉะนั้นอาคารที่ท่านสร้างจึงเป็นทรงยุโรปที่ไม่เหมือนกันแม้แต่หลังเดียว

อนึ่ง วันประวัติศาสตร์ของบ้านหลังนี้คือวันที่ ๑๓ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๘ ด้วยเป็นวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ โดยเป็นวันที่ รัชกาลที่ ๕ และ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเสด็จพระราชดำเนินเหยียบบ้านหลังนี้ทุกห้อง เพื่อเป็นสิริมงคล ทรงเสวยพระ กระยาหารโดยพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ เป็นผู้ถวายพระกระยาหารด้วยตนเอง

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๒ เป็นต้นมา สำนักงานตรวจบัญชีกองทัพบกคือผู้รับผิดชอบสถานที่แห่งนี้ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะรักษาคุณค่าและความงดงามของสถานที่นี้ไว้ แต่ก็ยากเกินกว่าที่จะดำเนินการได้โดยลำพัง จากวันนั้นถึงปัจจุบันกว่า ๙๘ ปี อาคารที่โดดเด่นและสะดุดตาหลังใหญ่ยังคงตั้งตระหง่านอยู่อย่างสงบรอการบูรณะให้คงสภาพเดิม เพื่อเป็นทรัพย์ของแผ่นดินที่ทรงคุณค่าตลอดไป จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นต้นมาได้มีการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารอนุรักษ์มาโดยลำดับ เพื่อให้คงไว้ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด
Nearby cities:
Coordinates:   13°46'48"N   100°30'23"E
  •  43 กม.
  •  48 กม.
  •  77 กม.
  •  90 กม.
  •  103 กม.
  •  120 กม.
  •  133 กม.
  •  164 กม.
  •  305 กม.
  •  436 กม.
This article was last modified 16 years ago