สถานีไฟฟ้ายุพราชันย์

Thailand / Yala / Betong /
 Upload a photo

Nearby cities:
Coordinates:   5°48'58"N   101°5'39"E

Comments

  • จากดิม บริษัทไฟฟ้าเบตง จำกัด ได้จ่ายกระแสไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟในเขตพื้นที่ เทศบาลตำบลเบตง และนอกเขตเทศบาลจ่ายไฟจาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และต่อมาความต้องการใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น บริษัทไฟฟ้าเบตง จำกัด ไม่สามารถรองรับได้ จึงได้โอนสัมปทานให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2518 ในขณะนั้นมีผู้ใช้ไฟฟ้า ประมาณ 3,000 ราย มีรายได้ประมาณ 250,000 บาท ความต้องการพลังงานไฟฟ้า 500 กิโลวัตต์ โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งขณะนั้นได้ติดตั้งอยู่ทสำนักงานปัจจุบัน และต่อมาได้ก่อสร้างโรงจักรไฟฟ้าเพิ่มเติมที่ บ้าน กม.7 ตำบลตาเนาะแมเราะ และได้ทำการเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ระบบ 33 กิโลโวลท์ จากอำเภอเมืองยะลา ผ่านอำเภอบันนังสตา เมื่อปี 2424 หลังจากนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้ก่อสร้างเขื่อนบางลางแล้วเสร็จ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเบตง จึงได้เชื่อโยงระบบจำหน่ายระบบ 33 กิโลโวลท์จากาถานีไฟฟ้าบงลาง ต่อมาในไปี 2542 มีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่อำเภอเบตง เป็นเมืองท่องเที่ยวเนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศที่สวยงาม ทำให้การจ่ายกระแสไฟฟ้าในอำเภอเบตงไม่เพียง เกิดปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและแรงดันไฟฟ้าตกบ่อยครั้ง ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาเรษฐกิจ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไดจัดสรรคเงินงบประมาณจำนวน 475 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและ ระบบจำหน่าย 115 กิโลโวลท์ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว และเมื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จทำให้สามารถต่ายกระแสไฟฟ้าได้มั่นคงและเพียงพอต่อความต้องการ การใช้กระแสไฟฟ้า และลดปัยหากระแสไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ และลดหน่วยสูญเสีย ในการนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมกับภาครัฐและเอกชน(กรอ.) จังหวัดยะลาได้พิจารณาเห็นชอบให้เสนอขอ พระราชทานนาม สถานีไฟฟ้าดังกล่าว จาก สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ (กรอ.) อำเภอเบตง เพื่อเป็น เกียรติ ศักดิ์ศรี ความภาคภูมิใจแก่ชาว อำเภอเบตง และเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม 2543 กองกิจการใน พระองค์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้นำความกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาทแล้ว พระราชทานนามสถนีไฟฟ้าย่อยดังกล่าวว่า "สถานีไฟฟ้ายุพราชันย์"
  • สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานทรงเปิดสถานีไฟฟ้ายุพราชันย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พร้อมด้วยหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม 2547 เวลา 15.00 น. โดยมีนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กราบบังคมทูลถวายรายงาน และมีปลัดกระทรวงมหาดไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา คณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะข้าราชการผู้ใหญ่ในพื้นที่จังหวัดยะลาและคณะตัวแทนประชาชนในพื้นที่จังหวัดยะลา เฝ้ารับเสด็จฯ สถานีไฟฟ้ายุพราชันย์ เป็นสถานีไฟฟ้าย่อย อำเภอเบตง จังหวัด ยะลา ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานนาม ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขยางค์ หมู่ที่ 4 ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ก่อสร้างตามโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าย่อย ระยะที่ 3 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 270 ล้านบาท โดยแยกดำเนินการเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการจ้างเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้ายุพราชันย์ ว่าจ้างบริษัท The Consortium of Samsung Corporation And Samsung Engineering Co.,LTD. โดยก่อสร้างเป็นสถานี ไฟฟ้าแบบ Tail – End Substation พร้อมติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าระบบ 115 - 33 กิโลโวลท์ ขนาด 25 เอ็มวีเอ จำนวน 1 เครื่อง ติดตั้ง Circuit breaker ระบบ 115 - 33 กิโลโวลท์ ชนิด Outdoor type จำนวน 1 ชุด และติดตั้ง Switchgear ระบบ 33 กิโลโวลท์ แบบ Gas Insurated Switchgear (GIS) ชนิด Indoor type จำนวน 8 ชุด จ่ายกระแสไฟฟ้าออกได้ 5 วงจร เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2542 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2543 ส่วนที่ 2 เป็นการก่อสร้างสายส่งระบบ 115 กิโลโวลท์ จากสถานีไฟฟ้าบางลางของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย - สถานีไฟฟ้ายุพราชันย์ ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร ว่าจ้างบริษัท The Joint Venture of Black & Veatch Corporation and Black & Veatch (Thailand) Limited ดำเนินการ โดยช่วงแรกระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร ก่อสร้างไปตามพื้นที่นิคมสร้างตนเองธารโต ก่อสร้างเป็นแบบเสาโครงเหล็ก (Lattice Tower) พาดด้วยสายอลูมิเนียมแกนเหล็กขนาด 455 ตารางมิลลิเมตร และช่วงหลังก่อสร้างไปตามถนนสาย 401 ตอนยะลา – เบตง ระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร ก่อสร้างเป็นเสาคอนกรีตขนาด 22 เมตร พาดด้วยสายอลูมิเนียมเปลือยขนาด 400 ตารางมิลลิเมตร เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ เพิ่มขีดความสามารถในการจ่ายกระแสไฟฟ้าของระบบไฟฟ้าให้สอดคล้องและเพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น สามารถให้บริการกระแสไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาไฟฟ้าตก ไฟฟ้าดับ ไฟฟ้ากะพริบและลดหน่วยสูญเสียในระบบไฟฟ้า เพิ่มคุณภาพในการบริการกระแสไฟฟ้าให้มีความแน่นอน สม่ำเสมอ น่าเชื่อถือ ลดปัญหาในด้านการปฎิบัติการและบำรุงรักษาของระบบไฟฟ้าและเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
This article was last modified 16 years ago